วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

ความเป็นมา คนไทย ประวัติชาติไทย แนวคิด ชนชาติ เมืองไทย


ความเป็นมาของการค้นคว้าถิ่นเดิมของชนชาติไทย
ไทย (Thai) หมายถึง คนไทย และ คนเชื้อชาติอื่น ที่เป็นพลเมืองของประเทศไทย
ไท หรือ ไต (Tai) หมายถึง กลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ที่พูดภาษาตระกูลไทหรือไต และอาจมีลักษณะของวัฒนธรรมอื่น ๆ บางอย่างรวมกัน
การศึกษาเรื่องถิ่นเดิมของชนชาติไทยเริ่มจากข้อสงสัยของชาวตะวันตก ที่เห็นผู้คนในดินแดนประเทศไทยประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ และมีวัฒนธรรมหลากหลาย ทั้งยังมีกลุ่มคนที่พูดภาษาตระกูลภาษาไทกระจายอยู่ทั่วไปในอาณาบริเวณอันกว้างใหญ่โดยรอบ
การศึกษาเพื่อค้นหาถิ่นเดิมของชนชาติไทยในอดีตได้เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา & nbsp; ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือ จดหมายเหตุของ ลา ลูเเบร์ ซึ่งเป็นบันทึกของ ซิมง เดอ ลา ลูเเบร์ (Simon de la Loubere)ราชทูตจากประเทศฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๒๙ – ๑๑๒๑ ได้กล่าวถึงความเป็นมาของชนชาติไทยว่า ปฐมบรมกษัตริย์ของชาวสยามนั้นทรงพระนามว่า พระปฐมสุริยเทพนรไทยสุวรรณบพิตร พระมหานครแห่งแรกที่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัตินั้นชื่อว่าไชยบุรีมหานคร เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๓๐๐ บันทึกของ ลา ลูเเบร์ ยังได้กล่าวถึงการสืบราชสมบัติและการตั้งราชวงศ์ของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๓๑ เป็นต้นมา ; ส่วนเรื่องราวของชนชาติไทยก่อน พ.ศ. ๑๓๐๐ นั้น ลา ลูเเบร์ ไม่ได้เอ่ยถึง
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้นสูงของไทยพยายามที่จะฟื้นฟูศิลปวิทยาที่เคยรุ่งเรืองเม ื่อครั้งสมัยอยุธยา จึงมีการชำระพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาขึ้นใหม่ และต่อมาก็มีผลงานพงศาวดารไทยสมัยรันตโกสินทร์ขึ้นมาอีกหลายเล่ม
ตั้งเเต่สมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นต้นมา ชาวยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศสได้เริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใ ต้ของจีน จึงสนใจที่จะศึกษาเรื่องราวของชนชาติต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณนี้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการขยายอำนาจเข้าครอบครองดินแดนของประเทศต่า ง ๆ ตามแนวทางลัทธิจักรวรรดินิยมการขยายอิทธิพลดังกล่าว ทำให้พระมหากษัตริย์และเจ้านายไทยเห็นความจำเป็นที่จะต้องศึกษาเรื่องราวของชนชาติไท ยย้อนหลังไปในอดีต เพื่อแสดงให้ชาติตะวันตกเห็นว่าชาติไทยเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองมานานแล้วไม่ใช่เป็ นชาติป่าเถื่อนอย่างที่ชาวตะวันตกเข้าใจ ดังจะเห็นได้จากในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าฟ้ามงกุฏ (รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งทรงอยู่ในสมณเพศ ก่อนเสวยราชย์) ทรงค้นพบศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักหนึ่ง และทรงพยายาม
อ่านข้อความที่จารึกไว้ ศิลาจารึกหลักนี้นับเป็นจารึกหลักที่ ๑ เรียกว่า ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำเเหงมหาราช
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ประเทศตะวันตกได้ขยายอำนาจตามลัทธิจักรวรรดินิยมในเอเชียเเละดินแดนต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะฝรั่งเศสได้คุกคามอำนาจอธิปไตยของไทยอย่างรุนแรง ทำให้พระมหากษัตริย์ของไทยเจ้านายไทย และผู้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ไทยทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ สนใจศึกษาประวัติความเป็นมาของชนชาติไทยอย่างกว้างขวาง และนำวิธีการศึกษาแบบตะวันตกมาใช้
อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนว่าถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ที่ไหนแน่ แต่มีแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ ๕ แนวคิด ได้แก่
๑.แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในบริเวณตอนกลางของจีน
๒.แนวคิดชนชาติไทยเป็นเชื้อสายมองโกลถิ่นเดิมอยู่แถบภูเขาอัลไต
๓.แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในบริเวณตอนใต้ของจีน
๔.แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย
๔.แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน
เรื่องความเป็นมาของชนชาติไทย
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ ประวัติศาสตร์ของไทยในเอเซียอาคเนย์ จึงได้เริ่มจดบันทึกเป็นหลักฐานแน่นอนโดยคนไทยมาแต่ยุคนั้น แม้ตำนานของไทยเผ่าต่าง ๆ จะกล่าวย้อนหลังไป ก่อนตั้งจุลศักราช (พ.ศ. ๑๑๘๒) บ้าง แต่ก็ไม่อาจยึดถือศักราชเป็นของแน่นอนได้ เรื่องราวของไทยเผ่าต่าง ๆ พอจะยึดเป็นหลักได้ก็ประมาณ พ.ศ. ๑๗๕๐ เป็นต้นมา ฉะนั้น เรื่องของชนชาติไทยก่อนหน้านั้น ยิ่งนานขึ้นไปเท่าใด ก็เป็นเรื่องสันนิษฐานมากยิ่งขึ้นไปตามลำดับ การเคลื่อนย้ายของชนชาติไทยมีหลายความเห็นเช่น
ความเห็นที่ ๑
ไทยอพยพจากเหนือลงใต้ มีความเห็นว่า ไทยอพยพจากภูเขาอัลไตในใจกลางทวีปเอเชียลงมายังน่านเจ้า แล้วอพยพต่อลงมายังประเทศไทย นักประวัติศาสตร์บางคนไม่เชื่อในความเห็นนี้
ความเห็นที่ ๒
ไทยพร้อมกับพวกฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซียอพยพจากเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาถึงประเทศไทย แล้วเลยต่อขึ้นไปถึงจีน เรื่องนื้มีทฤษฎีภาษาศาสตร์ของ เบเนดิกส์ สนับสนุนอยู่ เช่น คำว่าฟิลิปปินส์ ปะตาย แปลว่า ตาย อากู แปลว่า กู คาราบาวแปลว่า กระบือ เป็นต้น นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ วิธีการของเบเนดิกส์ เพราะนำภาษาปัจจุบันของฟิลิปปินส์มาเทียบกับไทย แทนที่จะสานคำกลับไปว่า เมื่อ ๑๒๐๐ ปีมาแล้ว คำไทยควรจะเป็นอย่างไร และคำฟิลิปปินส์ควรจะเป็นอย่างไร แล้วจึงนำมาเทียบกันได้
ความเห็นที่ ๓
ไทยอยู่ในประเทศไทยมาหลายพันปี และมีคนไทยกระจายอยู่ทั่วไปในอินเดีย พม่า จีน ไทย ลาว และ เวียดนาม บางคนถือว่าบ้านเชียงก็เป็นคนไทย แต่ยังไม่มีผู้ใดเคยพิสูจน์ว่า วัฒนธรรมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงเหมือนกับวัฒนธรรม ของคนไทยในปัจจุบันเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงอ้างความเห็นของกอร์แมนว่า โครงกระดูกคนบ้านเชียงคล้ายกับกระดูกมนุษย์ที่อยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิก อีกประการหนึ่ง จารึกในแหลมทองเป็นอักษรมอญ ภาษามอญมาจนถึงประมาณ พ.ศ.๑๗๓๐ ไม่เคยมีจารึกภาษาไทยเขียนด้วยอักษรใด ๆ ก่อนจารึก พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเลย
ความเห็นที่ ๔
ปัจจุบันนักภาษาศาสตร์และ นักประวัติศาสตร์ นานาชาติส่วนใหญ่สนับสนุนความเห็นของศาสตราจารย์ เก็ดนีย์ว่า ถิ่นกำเนิดของภาษาไทยอาจจะอยู่ตามเส้นเขตแดนระหว่างมณฑลกวางสีของจีนกับ เมืองแถง หรือเดียนเบียนฟูในเวียดนาม หรือไม่ก็อยู่ ข้างบนหรือข้างล่างใกล้เส้นแบ่งเขตแดนนี้ ศาสตราจารย์เก็ดนีย์อาศัยทฤษฎีว่า ภาษาเกิดที่ใด จะมีภาษาท้องถิ่นมากหลายชนิดเกิดขึ้นแถบบริเวณนั้น เพราะอยู่มานานจนแตกต่างกันออกไป พวกจ้วงที่อยู่ในกวางสีห่างกันเพียง ๒๐ กิโลเมตร ยังพูดกันไม่รู้เรื่อง แต่ภาษาถิ่นต่าง ๆ ของลาว ไทยและพม่า ไม่ค่อยแตกต่างกัน ยังฟังกันรู้เรื่อง ภาษาอังกฤษในเกาะอังกฤษมีภาษาถิ่นมากมาย แต่ในสหรัฐอเมริกาพูดกันเข้าใจทั้งทวีป
งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย
เรื่องความเป็นมาของชนชาติไทย ในสมัยโบราณนั้น เท่าที่ทราบกันส่วนมากยังเป็นตำนานเก่าแก่หรือนิยายปรำปรา เล่าสืบต่อกันมา ไม่ใคร่มีหลักฐานแน่ชัด เช่นกล่าวว่าคนไทยเคลื่อนย้ายลงมาจากดินแดนจีนตอนใต้ คือ จากมณฑลฮุนหนำ กุยจิ๋ว และกวางไส ส่วนที่เป็นมาก่อนหน้านั้นยังไม่กระจ่าง เนื่องจากไทยเราไม่มีบันทึกเรื่องราวดังกล่าวไว้ ซึ่งอาจจะไม่มีมาแต่เดิม หรือเคยมีแต่ได้สูญหายไปหมด อย่างไรก็ตามได้มีชาวยุโรปหลายชาติ ได้ทำการค้นคว้า เรื่องชนชาติไทยโบราณไว้เป็นหลักฐาน และจากจดหมายเหตุของจีนก็ได้กล่าวถึงเรื่องชนชาติไทยอยู่มาก ซึ่งยังไม่ได้นำมาเปิดเผยให้แพร่หลาย
งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทยอาจทำได้ ๒ วิธี วิธีหนึ่ง ใช้วิธีเดินทางท่องเที่ยวไปในหมู่ชนชาติไทย ที่ยังคงมีถิ่นฐานกระจัดกระจายอยู่ในประเทศจีนตอนใต้ ตังเกี๋ย ลาว พม่า และอินเดีย ทำการสอบสวนค้นคว้า ทางภาษา บ้านเรือน การแต่งกาย ความเป็นอยู่ อาหารการกิน อาชีพ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปกรรม และอื่น ๆ วิธีนี้ต้องลงทุนลงแรง และใช้เวลามาก วิธีนี้ได้มีชาวยุโรป และชาวไทยบางท่านได้ทำไว้แล้ว เช่น หมอวิลเลียมคลิฟตัน ดอดด์ ซึ่งเป็นหมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ได้ใช้เวลาถึง ๒๕ ปี เดินทางท่องเที่ยวไปพำนักอยู่กับคนไทยในถิ่นประเทศต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ศาสนาคริสต์ และใช้โอกาสนั้นศึกษาค้นคว้าเรื่องชนชาติไทยไปด้วย และได้เขียนเอกสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างยากที่จะผู้ใดเสมอเหมือนได้
นอกจากนี้ ยังมีชาวอังกฤษและชาวฝรั่งเศส ซึ่งมามีเมืองขึ้นอยู่ในดินแดนที่ชนชาติไทยมีถิ่นฐานกระจายกันอยู่อย่างกว้างขวาง ได้ค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับชนชาติไทยไว้ไม่น้อย ประกอบกับเอกสารวรรณคดีโบราณของจีนก็มีเรื่องของไทยเรา แทรกอยู่ใช้เป็นเครื่องช่วยอย่างสำคัญ สำหรับนักค้นคว้าในรุ่นหลังต่อมา สำหรับคนไทยเราเองมีนักวิชาการบางท่าน ได้ออกสำรวจถิ่นฐานของชนชาติไทยในดินแดนเหนือประเทศไทย
ปัจจุบันเข้าไปจนถึงดินแดนจีนทางตอนใต้ และได้ประมวลเรื่องที่ได้พบเห็นไว้ในหนังสือเรื่อง กาเลหม่านไต (ท่องเที่ยวไปยังบ้านคนไทย) ซึ่งเป็นข้อมูลค่อนข้างใหม่กว่าข้อมูลที่ชาวตะวันตกทั้งหลาย ได้ค้นคว้าเอาไว้ เป็นข้อมูลประมาณหลังสงครามมหาเอเซียบูรพาสิ้นสุดลงใหม่ ๆ ซึ่งก็สอดคล้องกับที่ชาวตะวันตกหลายชาติที่เขียนเอาไว้ก่อนหน้านั้น
จากการค้นคว้าดังกล่าว ทำให้ได้ความรู้อันแน่ชัดว่า ไทยเราเป็นเชื้อชาติที่สำคัญยิ่งมาแต่โบราณกาล มีอารยธรรม มีความรู้ทางการปกครอง และมีสิ่งดีหลายอย่างมาพร้อมกับชาติโบราณทั้งหลาย บรรดาผู้ทำการค้นคว้าชาวตะวันตกหลายชาติทั้ง อังกฤษ ฝรั่งเศส และ อเมริกา ต่างยืนยันว่า ชนชาติไทยเจริญมารุ่นราวคราวเดียวกันกับชาติโบราณอื่น ๆ เช่น คาลเดีย และบาบิโลน และว่าชนชาติไทยเป็นพี่ชายของชนชาติจีน เช่น หนังสือที่หมอดอดต์แต่งชื่อ The Tai Race มีชื่อเพิ่มเติมว่า Elder brother of the chinese
ชาวตะวันตกรู้จักประเทศไทยมาช้านาน ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีหนังสือตำนานพิมพ์ออกมาแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาฝรั่งเศส ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าหลุยที่ ๑๔ ต่อมาเมื่ออังกฤษ และฝรั่งเศสมาได้เมืองขึ้นในดินแดนเอเซียตะวันออก อังกฤษก็ได้พบคนไทยใหญ่ และไทยอาหมที่พูดภาษาไทย ฝรั่งเศสพบลาวและชนชาติไทยในภาคเหนือของตังเกี๋ย ซึ่งพูดภาษาไทย และมีรูปร่างลักษณะเป็นคนไทย นอกจากนั้นเข้าไปในมณฑลยูนนาน และกวางสีของจีน ก็ได้พบคนที่พูดภาษาไทยอีกเป็นจำนวนมาก
หมอวิลเลียมคลิฟตัน ดอดด์ ซึ่งเป็นมิชชันนารีสอนคริสตศาสนาอยู่ทางเชียงใหม่ ได้เรียนรู้ภาษาไทยเหนือใช้การได้ดี ได้เขียนไว้ว่า เขาสามารถเดินทางไปในมณฑลต่าง ๆ ทางภาคใต้ของจีนโดยไม่มีล่ามเลย คงใช้ภาษาลาวของไทยภาคเหนือเท่านั้น พบว่าภาษาลาวนั้นใช้ได้ทั่วไป แม้ดินแดนทางตะวันตกสุดของมณฑลยูนนาน เมื่อลองประมวลคำพูด สองพันคำ ก็ได้พบเพียง ๑ ใน ๑๔ คำเท่านั้น ที่แตกต่างกับภาษาพูดทางเชียงใหม่ และถ้าไปทางภาคตะวันออกของยูนนาน ก็จะได้พบ ๑ ใน ๘ คำที่ผิดไป ส่วนในมณฑลชานสีจะมีผิดกันมากขึ้นไปเล็กน้อย คือ ๑ ใน ๖ คำ
จากจดหมายเหตุของจีนได้เขียนไว้ว่า พวกที่มาตั้งอาณาจักรน่านเจ้านั้น เป็นพวกตระกูลมุง พวกเดียวกับพวก มุง ลุง ปา แคว้นต่าง ๆ ในอาณาจักรน่านเจ้า เริ่มต้นพยางค์ต้นว่าต้า จึงทำให้เข้าใจได้ต่อไปว่า พวกที่มาตั้งอาณาจักรน่านเจ้าเป็นพวกต้ามุง และได้พบต่อไปอีกว่า คำว่า "ต้า" นั้น ในภาษายูนนานหมายความว่า "ใหญ่" คำนี้เมื่อเป็นภาษากวางตุ้งกลายเป็น "ไต" ซึ่งก็แปลว่าใหญ่อีกเช่นกัน
จากเอกสารตำนานจึนได้พบว่าในรัชสมัย พระเจ้ายู้ ของจีน ซึ่งเริ่มรัชสมัย เมื่อ ๑๖๖๕ ปี ก่อนพุทธศักราช หรือประมาณกว่าสี่พันปีมาแล้ว ได้มีการสำรวจเขตแดนจีน ปรากฎว่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลเสฉวนปัจจุบัน เขตแดนจีนในครั้งนั้น ไปจดอาณาเขตของอาณาจักรใหญ่อาณาจักรหนึ่ง ซึ่งชื่อว่าต้ามุง ซึ่งแน่ชัดว่าพวกต้ามุงเป็นพวกเดียวกับพวกที่มาตั้ง อาณาจักรน่านเจ้า เมื่อปี พ.ศ. ๑๑๗๒
จากผลการค้นคว้าพบว่า หมู่ชนที่เชื่อกันว่าเป็นชนชาติไทยนั้น ได้ตั้งถิ่นฐานเป็นรัฐอยู่แว่นแคว้นอยู่ในประเทศจีนแล้ว ก่อนที่จีนจะอพยพลงมา เนื่องจากประวัติศาสตร์ของจีนเริ่มต้นที่พระเจ้าวั่งตี่ เมื่อ ๒๐๙๔ ปี ก่อนพุทธศักราชนั้นจีนยังอยู่ทางทะเลแคสเบี้ยน หรืออยู่ระหว่างการเคลื่อนย้ายมุ่งสู่ตะวันออก ยังไม่ได้ตั้งอาณาจักรลงในดินแดนที่เป็นประเทศจีนเวลานี้ ประวัติศาสตร์ที่ขงจื้อ เขียนเอง เริ่มต้นที่พระเจ้าเย้า เมื่อ ๑๘๑๔ ปี ก่อนพุทธศักราช ก็ยังเป็นระยะเวลาที่อาณาจักรจีนยังไม่ได้ตั้งถิ่นฐานมั่นคง การสำรวจดินแดนซึ่งกระทำในรัชสมัย พระเจ้ายู้ เมื่อประมาณ ๑๕๐ ปี หลังจากนั้น
เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ มีรายงานของผู้แทนกงสุลอังกฤษ ประจำเมืองจุงกิง ประเทศจีน ได้ทำรายงานเสนอรัฐสภาอังกฤษ มีความตอนหนึ่งว่า แม้ในเวลานี้ เก้าในสิบของพลเมืองของเมืองนานกิง (อยู่ในมณฑลกวางสีใกล้แคว้นตังเกี๋ย) เป็นคนไทย ไม่มีผู้หญิงคนใดในหมู่ชนพวกนี้ที่จะพูดภาษาจีนได้ ชาวโลโล้เป็นแต่พวกคนพเนจรเข้ามาปะปนอยู่ในหมู่คนไทย หัวหน้าปกครองเขตแขวงส่วนมากที่สุดในกวางสีเป็นคนไทย ตั้งแต่ปองไกลงไปถึงนานนิงฟู พลเมืองเป็นไทยทั้งหมด พูดภาษาของตนเอง และส่วนมากที่สุดปกครองโดยหัวหน้าที่สืบสาย
เรื่องเกี่ยวกับชนชาติไทย
บรรดานักค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย ได้พยายามอธิบายเรื่องชนชาติไทยไว้เป็นอันมาก
พอประมวลได้ดังนึ้
พันโทมอริส อาบาดี ชาวฝรั่งเศส อธิบายว่า กลุ่มเชื้อชาติของกลุ่มคนที่เรียกชื่อว่าไทย เป็นกลุ่มสำคัญที่สุดในบรรดาหมู่ชนทั้งหลายที่ได้พบในประเทศจีนตอนใต้ และในอินโดจีนทั้งหมด เป็นกลุ่มทึ่รวมหมู่มากมายหลายประเภท แต่มีลักษณะสำคัญที่เหมือนกันในทางภาษา ขนบประเพณี และจารีต
นายดอชเรน ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นสมาชิกราชบัณฑิตสภาอังกฤษ เกี่ยวกับทวีปอาเซีย ให้คำอธิบายว่าเชื้อชาติไทย แบ่งแยกเรียกชื่อตามหมู่เหล่าหลายชื่อ แต่เป็นเชื้อชาติเดียวกัน ได้ยึดครองพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลว่าคนเชื้อชาติอื่นๆ ในแหลมอินโดจีน ในอัสสัมซึ่งเรียกว่าอาหม ตลอดแนวเขตแดนระหว่างพม่ากับจีน แบ่งแยกเป็นหลายพวก และบางพวกก็เป็นอิสระอย่างครึ่ง ๆ เรียกชื่อตามที่พม่าเรียกว่าฉาน ชนเชื้อชาติเดียวกันนี้ได้แผ่ออกไปทางใต้ใช้ชื่อว่า ลาว ยึดครองพื้นที่ระหว่าง แม่น้ำสาละวินกับ แม่น้ำโขงใต้ลงไปอีก ที่รู้จักกันมากที่สุด และเป็นสาขาเชื้อชาติที่มีอารยธรรมสูงที่สุด คือไทยสยาม ซึ่งได้ตั้งอาณาจักรที่มีอำนาจอยู่ทางฝั่งทะเล
นายเอเตียน เอโมนิเอร์ ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่องประเทศกัมพูชา พิมพ์ออกเผยแพร่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓ มีความว่าครอบครัวเชื้อชาติใหญ่ ซึ่งเรียกว่าไทย ที่แปลกันว่าเสรีชน ประกอบด้วยหมู่ชนมากมายหลายสาขา มีความสัมพันธ์อย่างเครือญาติใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางภาษา หมู่ใหญ่ของชนชาติดังกล่าวนี้มี ฉาน ลาว หรือ ลาวเฉียง ผู้ไท และชาวสยาม เมื่อก่อนคริสตศักราช ชนเชื้อชาตินี้ได้มีถิ่นฐานอยู่ในที่ราบสูงยูนนาน หรือธิเบตตะวันออก ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาตามทางลาดเอียงของลำน้ำ เข้ายึดครองลุ่มน้ำหลายแห่งในประเทศจีนตอนใต้ และได้แผ่ลงมาทางใต้เหมือนน้ำไหลอย่างแรง ครอบคลุมที่ราบในแหลมอินโดจีนเกือบทั้งหมด และได้ขับไล่พวกชาวป่าชาวดอยเจ้าของถิ่นเดิมให้เข้าไปอยู่ในป่าดง และภูเขาแล้ว ชนชาติไทยก็เข้าครอบครองดินแดนโดยเหลือแต่ที่ที่ยื่นออกตามชายฝั่งทะเล ไว้ให้แก่ชนชาติอื่นที่เจริญแล้วคือ ญวน จามปา เขมร มลายู มอญ และพม่า
ศาสตราจารย์ แตริอัง เดอลาคุเปอรี ชาวอังกฤษ ได้ตรวจสอบภาษาพูดที่ทางจีนสมัยโบราณรวบรวมไว้ พบว่าคำพูดของหมู่ชนที่จีนเรียกว่าคนป่าในสมัยโบราณนั้น แยกออกได้เป็นสองสาขา คือบางคำตรงกับภาษาไทย บางคำตรงกับภาษามอญและญวน เมื่อลองตรวจนับดูก็พบว่าในบรรดาคำ ๑๙ คำ จะเป็นภาษาไทย ๑๒ คำ เป็นภาษามอญและญวน และมีอยู่มากคำที่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร ด้วยเหตุนี้ ศาสตราจารย์ คุเปอรีจึงถือว่า หมู่ชนที่ชาวจีนเรียกว่าคนป่านั้นต้องเป็นพันธุ์ๆ หนึ่ง ซึ่งเขาเขาชื่อว่าพันธุ์ "มอญไทย" โดยที่พันธุ์มอญได้เคลื่อนลงมาทางใต้ก่อนพันธุ์ไทย และมากลายเป็น มอญ เขมร ญวน ในปัจจุบัน
สำหรับเจ้าตำราทางฝรั่งเศส ได้อธิบายไว้ว่ามอญกับเขมรเป็นสาขาเดียวกัน เรียกว่ามอญขะแมร์ ถือเป็นมอญแท้พวกหนึ่ง และเป็นขะแมร์อีกพวกหนึ่ง ชนชาติอื่นๆที่นับเข้าเป็นสาขามอญขะแมร์ได้แก่ ปะหล่อง ว้า ยาง นายดอชเรนได้เขียนไว้ว่าพันธุ์มอญ เป็นเชื้อชาติแรกที่อพยพจากแดนจีนลงมาทางใต้
พันตรี เดวิด ชาวอังกฤษ ได้เขียนเรื่องไทยในยูนนานไว้ว่า คนจีนในยูนนานกล่าวว่า ชาวกวางตุ้งนั้นเป็นเชื้อชาติฉาน (ไทยใหญ่) ดวงหน้าของชาวจีนทางใต้กับพวกฉานเหมือนกันมาก อาจเป็นไปได้ว่าในสมัยหนึ่งพวกฉาน ได้ครองครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในประเทศจีนทางด้านทิศใต้ ของแม่น้ำยังจื้อ แต่ส่วนมากถูกจีนกลืนไป
เซอร์ ยอร์ช สก๊อต ชาวอังกฤษ ผู้เขียนประวัติศาสตร์พม่า ได้เขียนความตอนหนึ่งว่า เชื้อชาติไทยเป็นเชื้อชาติแผ่ไพศาลที่สุดในแหลมอินโดจีน ชาวอาหมในแคว้นอัสสัมเป็นฉาน ชาวฮักก้าในกวางตุ้งเป็นพวกที่ไปจากฉาน อาจจะเป็นไปได้ว่า เชื้อชาติไทยประกอบเป็นส่วนใหญ่ในสี่มณฑลของจีน
หมอวิลเลียมคลิฟตัน ดอดต์ ได้อ้างคำของนายเจไมซัน กงสุลให้อังกฤษประจำเมืองแดนตอน (กวางตุ้ง) เมื่อ ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ว่าพลเมืองในมณฑลกวางสี และกวางตุ้งทั้งหมดเป็นชนเชื้อชาติไทยทั้งในทางเชื้อชาติและทางภาษา
เรเวอเรนต์ เบอร์กวอล นักบวชชาวอังกฤษ กล่าวว่าชาวไทยในมณฑลกวางสี ตามอำเภอชนบทมากหลาย ปกครองโดยหัวหน้าของเขาเอง ที่สืบเชื้อสายต่อกันมา ไม่พูดภาษาจีน และถือพวกถือหมู่ ถึงขั้นไม่ยินดีรับอารยธรรมจีน
หมอวิลเลียมคลิฟตัน ดอดด์ ผู้แต่งหนังสือเรื่องเชื้อชาติไทย เขียนไว้ว่ามีข้อที่จะอ้างอิงได้เป็นอันมากว่า ในปัจจุบันนี้ชาวจีนซึ่งถือว่าหมู่ที่อยู่รอบข้างตน เป็นคนป่า ชั้นต่ำกว่าตนนั้น มีเลือดไทยอยู่ในสายเลือดของตนเป็นอันมาก และยังมีเลือดของพวกโลโล้ ยูง ยาง กะเหรี่ยง เต็ก แม้ว เย้า ไปจนถึงพวกมอญ - ขะแมร์ด้วย พวกเหล่านี้เป็นชาวใต้ เป็นตัวแทนของชาติโบราณที่เคลื่อนที่มาเรื่อย ๆ จากทางเหนือ เมื่อประมวลความเห็นเหล่านี้เข้าด้วยกัน จะเห็นได้ว่าธาตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เกิดชาติจีนในปัจจุบันคือ ชนชาติใหญ่ ชื่อว่า อ้ายลาว ต่อมาภายหลังเรียกว่าไทย พม่าเรียกว่า ฉาน ซึ่งอยู่ในประเทศจีนมาก่อน เก่ากว่าชาวจีน
แม่น้ำฮวงโห และ แม่น้ำแยงซีเกียง ได้แบ่งประเทศจีนออกเป็น ๓ ตอน ตอนเหนือคือพื้นที่ทางด้านเหนือแม่น้ำฮวงโหขึ้นไป ตอนกลางคือพื้นที่ระหว่างแม่น้ำทั้งสองนึ้ และตอนใต้คือพื้นที่ทางด้านทิศใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียงลงมา
ทางเดินของชนชาติจีนตามประวัติศาสตร์นั้น จีนลงมาจากทางเหนือ และเพิ่งมาตั้งอาณาจักรแท้จริงเท่าที่เราทราบ เมื่อมาถึงแม่น้ำฮวงโห และอยู่ในพื้นที่ตอนบนเหนือแม่น้ำสายนี้ ในระยะเวลานั้นยังไม่พบกับไทย ในระยะต่อมาก็เคลื่อนที่ข้ามแม่น้ำฮวงโหเข้ามาสู่พื้นที่ตอนกลาง และได้พบกับไทยในพื้นที่ตรงนี้ จากนั้นจีนก็ได้เปลี่ยนแนวทางเคลื่อนย้าย คือแทนที่จะเคลื่อนที่เรื่อย ๆ ลงมาทางใต้ตามทิศทางที่เคยเคลื่อนที่มาก่อน ก็กลับวกไปทางด้านทิศตะวันออก จีนใช้เวลาถึงหนึ่งพันปีในการเคลื่อนที่สู่ทิศตะวันออกเรื่อยไปจนกระทั่งถึงทะเลเหลื อง ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เป็นข้อสนับสนุนว่า อาณาจักรไทยที่จีนมาพบนั้น ต้องเป็นอาณาจักรที่มั่นคงแข็งแรง สามารถเป็นทำนบกั้นการเคลื่อนที่ของจีนลงทางใต้ได้ยาวนานถึงหนึ่งพันปี ภายหลังเมื่อจีนขยายตัวไปถึงทะเลเหลืองแล้ว จึงได้กลับมากดดันลงทางใต้ และกว่าจะแผ่ขยายไปถึงฝั่งทะเลทางตอนใต้ก็ต้องใช้เวลาอีกประมาณหนึ่งพันปีเช่นกัน&nb sp; ประวัติศาสตร์จีนที่ขงจื้อเขียน ไม่มีข้อความตอนใดกล่าวถึงดินแดนทางตอนใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียงลงไป แสดงว่าในสมัยนั้น จีนยังไม่รู้จักดินแดนตอนใต้
มีอาณาจักรอยู่หลายอาณาจักรที่จีนเรียกว่าคนป่า แต่เป็นอาณาจักรที่ปกครองตนเอง โดยมีความสัมพันธ์กับจีน มีอาณาจักรอีกสองอาณาจักรที่น่าสนใจ นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ
อาณาจักรปัง อยู่ทางทิศเหนือของมณฑลเสฉวนและ ฮูเป คือ อยู่ในพื้นที่ตอนกลางระหว่างแม่น้ำ ฮวงโห กับแม่น้ำ แยงซีเกียง ในตำนานของจีนกล่าวว่า อาณาจักรนี้ได้ถูกรวมเข้ากับจีน เมื่อ ๗๖๗ ก่อนพุทธศักราช และตำนานจีนยังกล่าวไว้ว่า อาณาจักรนี้ได้ตั้งเป็นอิสระมาก่อนแล้ว ๗๖๗ ปี แสดงว่าอาณาจักรนี้ตั้งมาตั้งแต่ ๑๔๕๔ ปี ก่อนพุทธศักราช ขงจื้อเมื่อเขียนถึงชนชาตินี้ จะใช้คำว่า "ปังโบราณ" อาณาจักรปังเป็นอาณาจักรใหญ่มีหมู่บ้านถึง แปดหมื่นหมู่บ้าน เมื่อรวมกับจีนแล้วก็ยังคงใช้ประมุขคนพื้นเมืองปกครองกันเอง ต่อมาภายหลังได้รับการยกย่องให้อยู่ในฐานะกษัตริย์ จีนเรียกเมืองแสนหวีที่อยู่ในรัฐไทยใหญ่ปัจจุบันว่ามูปัง คำว่าปังอาจจะออกเสียงเป็นปอง ปง หรือพงได้นั้น ยังเหลือซากอยู่ในหมู่ชนชาติไทย ชื่อเมืองของชนชาติไทยบางแห่งยังมีชื่อว่า เมืองพง ชาวไทยใหญ่บางพวกยังเรียกตัวเองว่าไทยปอง หรือไทยพง
อาณาจักรจู ทางไทยอาจจะเรียกว่า ฌ้อ เป็นอีกรัฐหนึ่งที่รวมเข้ากับจีน ภายหลังจากที่ได้ต่อสู้กันอยู่ช้านาน นับว่าเป็นรัฐใหญ่ที่สุดในบรรดารัฐคนป่าทั้งหลาย เขตแดนทางเหนือจดครึ่งของพื้นที่ตอนกลาง ระหว่างแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซีเกียง ทางด้านทิศตะวันออกได้ทอดยาวไปตามลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง จากหลักฐานของจีน ชาวชุงเชียสืบสายมาจากชาวจู และหมอวิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ ได้พบชาวชุงเชีย และพูดกันรู้เรื่องด้วยภาษาไทย
ศาสตราจารย์ ลาคุเปอรี ได้พบจดหมายเหตุจีนกล่าวถึงชนชาติไทยเป็นครั้งแรก ในรัชสมัย พระเจ้ายู้ของจีน เมื่อ ๑๖๕๔ ปี ก่อนพุทธศักราช ชนชาติไทยได้ถูกระบุไว้ในรายงานการสำรวจภูมิประเทศของจีนในครั้งนั้น แต่จดหมายเหตุจีนเรียกชนชาติไทยว่า"มุง" และบางแห่งเรียก "ต้ามุง" คือมุงใหญ่ ถิ่นที่อยู่ของชนชาติไทยดังกล่าวนี้ อยู่ในเขตมณฑลเสฉวนของจีนในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในพื้นที่จีนกลางค่อนไปทางตะวันตก
มีจดหมายเหตุของจีน กล่าวถึงชนชาติไทย ได้เรียกชื่อไทยเป็นสองพวก คือ "ลุง" กับ "ปา" อาจจะเป็นได้ว่าทิวเขากุยลุง ได้ชื่อมาจากไทยพวกที่จีนเรียกว่าลุง คำว่ากุย เป็นคำไทย แปลว่าเขา นอกจากนั้น ยังมีชนชาติไทยอีกพวกหนึ่ง อยู่ในพื้นที่ระหว่างมณฑล โฮนาน ฮูเป และอันฮุย แล้วได้ขยายตัวออกไปถึงทิวเขากุยลุงทางด้านทิศตะวันตก เราก็จะได้พบชนชาติไทยที่เรียกชื่อว่า มุง ลุง ปา ปัง และลาว บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำแยงซีเกียง ครอบครองดินแดนตั้งแต่มณฑลเสฉวนภาคตะวันตก ต่อเนื่องทางด้านตะวันออก จนเกือบถึงทะเล และย้อนขึ้นไปทางเขตมณฑลเกียงสู ทิวภูเขาลาวในแถบนี้ ก็อาจจะได้ชื่อมาจากพวกไทย ที่เรียกตัวเองว่าลาวนี้เอง

อ้างอิง internet