วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พระมหากษัตริย์ไทย ที่ได้พระนามว่า มหาราช

พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตที่ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น"มหาราช"ได้แก่...

1. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

2. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

3.สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

4. สมเด็จพระตากสินมหาราช

5.พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

6.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระปิยมหาราช


พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระองค์เป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสุโขทัย ได้ทรงประกอบราชกิจที่สำคัญไว้มาก สมควรกล่าวถึงดังนี้คือ

๑. ทรงมีความเข้มแข็งในการรบ

๒. ทรงเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศใกล้เคียง

๓. ทรงปกครองพลเมืองให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข

๔. ในพ.ศ. ๑๘๒๖ ได้ทรงคิดแบบตัวหนังสือไทยขึ้นแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นเค้าของตัวหนังสือไทยในปัจจุบัน

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สมัยราชอาณาจักรศรีอยุธยา สมเด็จพระ นเรศวรได้ทรงกู้ชาติไทยให้กลับมี อิสรภาพพ้นจากอำนาจพม่าเมื่อพ.ศ. ๒๑๓๕ (ซึ่งเดิมลงมติกันแล้วว่าตรงกับ วันที่ ๒๕มกราคม)ท นับว่าเป็นชัยชนะ อันเยี่ยมยอดในรัชสมัยของสมเด็จพระ นเรศวรมหาราช ผลแห่งชัยชนะที่ทรง มอบให้แก่ชาติไทยครั้งนี้ ทำให้ พม่าไม่กล้ายกมาย่ำยีประเทศไทยอีก เป็นเวลานาน สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงใช้ เวลาต่อมาจากนั้นยกทัพไปปราบ ถึงพม่าจนเป็นที่เกรงขามทั่วไป ทรงปราบปรามเขมรซึ่งมักประพฤติตนเป็น ศึกสองหน้าแทรกแซงอยุธยาขณะมีศึก พม่าอยู่บ่อย ๆ
เมื่อกรุงหงสาวดีผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน ใหม่ พระเจ้าบุเรงนองแห่งหงสาวดี สิ้นพระชนม์ พระเจ้านันทบุเรง ขึ้นเป็นกษัตริย์สืบต่อมา ทางพม่าได้ แจ้งข่าวเปลี่ยนรัชกาลไปยังประเทศราช ทั้งปวง ให้ผู้ครองประเทศราชไปเข้า เฝ้าตามพระราชประเพณี สมเด็จพระมหาธรรม ราชาธิราช ได้โปรดให้สมเด็จพระนเรศวรเสด็จ ขึ้นไปแทนพระองค์ เมื่อสมเด็จพระ นเรศวรเสด็จถึงเมืองแครง บังเอิญได้ทรง ทราบถึงแผนการของพม่า ซึ่งคิด ประทุษร้ายต่อพระองค์จากบุคคลสำคัญทางมอญ หลายคนที่สนิทสนมคุ้นเคยลอบมา ทูลก่อนจะถึงเมืองพม่า สมเด็จพระ นเรศวรจึงทรงถือโอกาสประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง ในพ.ศ. ๒๑๒๗ แยกราชอาณาจักร ศรีอยุธยาออกเป็นอิสระจากอำนาจพม่า และเมื่อทางการพม่าจัดทัพใหญ่ให้ พระมหาอุปราชา พระรัชทายาทเสด็จนำเข้า มาปราบปรามไทย สมเด็จพระนเรศวรซึ่ง เสด็จขึ้นครองราชบังลังก์ใหม่ ๆ ได้ เสด็จนำทัพออกไปจากกรุงศรีอยุธยา รับทัพข้าศึก ณ แขวงเมืองสุพรรณบุรี ทรงทำสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุป ราชาจนได้ชัยชนะ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็น ที่เลื่องลือพระเกียรติยศในพระราโชบา ยทางคบค้าสมาคมกับชาวต่างประเทศ รักษาเอกราชของชาติให้พ้นจากการเบียด เบียนของชาวต่างชาติ และรับผล ประโยชน์ทั้งทางวิทยาการและเศรษฐกิจที่ ชนต่างชาตินำเข้ามา นอกจากนี้ ยังได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงกวีและงานด้าน วรรณคดีอันเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองที่สุด ในยุคนั้น

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จเถลิง ถวัลยราชสมบัติ เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จ เถลิงถวัลยราชสมบัติ ณ ราชอาณา จักรศรีอยุธยาแล้ว ปัญหากิจการบ้านเมืองใน รัชสมัยของพระองค์เป็นไปในทาง เกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศเป็นส่วน ใหญ่ ด้วยในขณะนั้นมีชาวต่างประเทศ เข้ามาค้าขาย และอยู่ในราช อาณาจักรไทยมากกว่าที่เคยเป็นมาใน กาลก่อน ที่สำคัญมากคือ ชาวยุโรป ซึ่งเป็นชาติใหญ่มีกำลังทรัพย์ กำลัง อาวุธ และผู้คน ตลอดจนมีความเจริญ รุ่งเรืองทางวิทยาการต่าง ๆ เหนือกว่า ชาวเอเชียมาก และชาวยุโรปเหล่านี้ กำลังอยู่ในสมัยขยายการค้า ลัทธิ คริสต์ศาสนา และอำนาจทางการเมืองของ พวกตนมาสู่ดินแดนตะวันออก

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

องค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ เดียว ในสมัยที่ราชอาณาจักรไทยมี ราชธานีอยู่ ณ กรุงธนบุรี พระเกียรติยศที่ ยิ่งใหญ่อันประชาชาติไทยเทิดทูนพระองค์ ท่านเป็นวีรกษัตริย์ ก็เนื่องจากทรง เป็นผู้กอบกู้เอกราชของชาติไว้ใน ขณะที่ราชอาณาจักรศรีอยุธยาพ่ายแพ้ แก่พม่าเมื่อพ.ศ. ๒๓๑๐ และสูญสิ้นอิสรภาพ ไปแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ ทรงใช้เวลา เพียงประมาณ ๗ เดือน ปราบ ปรามอริราชศัตรูภายนอกประเทศ คือขจัด ทัพพม่าซึ่งตั้งรักษาการณ์อยู่ ณ ค่าย โพธิ์สามต้น แขวงกรุงศรีอยุธยาให้แตก พ่ายถอยหนีไปพ้นราชอาณาจักร แต่ อาณาจักรไทยภายหลังการเสียเอกราชไป นั้น ได้แตกแยกออกเป็นชุมนุมต่าง ๆ หลายชุมนุม ได้แก่ พิษณุโลก พิมาย ฝางหรือ สวางคบุรี (ในบริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์) และ นครศรีธรรมราช สมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ต้องเสด็จ ปราบปรามและเกลี้ยกล่อมเจ้าชุมนุมต่าง ๆ และพวกให้นอบน้อมยอมสวามิภักดิ์ต่อ พระองค์ท่าน รวมประเทศชาติเป็นปึกแผ่น มีศูนย์การปกครองอยู่ที่กรุงธนบุรีแต่ แห่งเดียวการที่มิได้ทรงกลับไป ใช้กรุงศรีอยุธยาราชธานีเดิมก็เพราะ อยุธยาเป็นเมืองใหญ่ถูกพม่าทำลายยับเยิน มากเกินกำลังของพระองค์ท่านซึ่งมีน้อย ทั้งทรัพย์สิน ผู้คนและเวลาที่จะ บูรณะให้กลับคืนดีมั่นคงแข็งแรงได้ ทันการ

พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระองค์ทรงเป็นพระปฐมบรมมหากษัตริย์ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ผู้ทรงสร้าง กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ ฯลฯ (รัชกาล ที่ ๔ ทรงเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ ฯลฯ) ขึ้นเป็นราชธานี พระองค์ ทรงมีพระราชประวัติดีเด่นทั้งใน ราชการทหารและพลเรือน โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในราชการสงคราม ทรงป้องกันประเทศชาติ บ้านเมืองให้พ้นภัยจากอริราชศัตรู ตั้งแต่ทรงรับราชการอยู่ในสมัยสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี ได้รับ พระราชทานปูนบำเหน็จความดีความชอบ เป็นพระราชวรินทร์ พระยาอภัยรณ ฤทธิ์ พระยายมราช ว่าที่สมุหนายก ประมุขแห่งราชการพลเรือนแล้วเป็นเจ้าพระยา จักรีโดยลำดับ และตำแหน่งราชการสูง สุดขั้นสุดท้ายก็คือ เจ้าพระยามหา กษัตริย์ศึกมีเครื่องยศอย่างเจ้าต่าง กรม ขณะทรงเป็นแม่ทัพไปปราบปราม กรุงศรีสัตนาคนหุต (ล้านช้าง) ได้เมือง เวียงจันทร์ เมืองหลวงพระบางนั้นแล้ว ก็ได้ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตน ปฏิมากร (แก้วมรกต) กับพระบาง จาก เวียงจันทน์ มายังกรุงธนบุรี

พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระปิยมหาราช

พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริยา ธิราช รัชกาลที่ ๕ ในพระบรมราชจักรีวงศ์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จอยู่ในราช บัลลังก์เป็นเวลา ๔๒ ปี และตลอดเวลาอัน ยาวนานนี้ได้ทรงปรับปรุงทำนุบำรุง และเทิดเกียรติประเทศไทยให้มีฐานะ สูงเทียมอารยประเทศอันเป็นที่ยกย่อง พระราชกรณียกิจมีมากมายหลายด้าน หลายประการ ที่เด่นมากน่าจะยกมา กล่าวสรุปได้ เช่น โปรดเกล้าฯ ให้ เลิกทาสเพื่อชาวไทยได้เป็นพลเมือง ที่มีเสรีเสมอภาคกันตามกฎหมายการ เลิกทาสก็มิได้ทรงประกาศเลิกอย่าง กะทันหัน ซึ่งจะเป็นเหตุให้ผู้เกี่ยว ข้องทั้งตัวทาสและเจ้าของทาสเปลี่ยน ปฏิบัติการตามพระบรมราโชบายมิได้ แต่ได้ทรงใช้พระปรีชาสามารถกำหนด เวลาลดค่าตัวทาสลงเป็นปี ๆ ไป จนหมดค่าตัวและเป็นไทยได้ โดยมี เวลาเตรียมตัวทั้งฝ่ายทาสและเจ้า ของทาส มิเป็นที่เดือดร้อนแก่ฝ่าย ใด ทรงแก้ไขปรับปรุงการปกครองบ้าน เมืองเพื่อความสุขความเจริญของประชาชน

------------------------
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Thailand : Thai Junior Encyclopedia Project